วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 6 การติดตั้งไดร์เวอร์ และการปรับแต่งพื้นฐาน

         ไดร์เวอร์ หมายถึงตัวขับอุปกรณ์ จัดเป็นโปรเเกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติจะเเนบมาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น ไดรเวอร์เมนบอร์ด ไดรเวอร์เครื่องคอม เเละไดร์เวอร์เครื่องสเเกนเนอร์ เป็นต้น
     
         หน้าที่หลักของไดร์เวอร์ คือช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อเเละจัดการกับอุปกรณ์ I/O เพื่อควบคุมการทำงานอุปกรณ์เหล่านั้นได้
        Driver Computer คือ โปรแกรมหนึ่งที่จะช่วยให้ชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำมาประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยจะเป็นตัวขับเคลื่อน หรือ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด การ์ดจอ เม้าส์ เครืองพิมพ์ และชิ้นส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์ กับ ระบบปฏิบัติการ (OS) เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถ ใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ หากไม่มีไดรเวอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นอาจไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจใช้ได้แต่ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ทุกครั้งที่เราเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปใหม่ เช่น เมื่อต้องการจะติดตั้งการ์ดจอ ที่เพิ่งซื้อมาใหม่ คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถรู้ได้ว่าอุปกรณ์ตัวนั้นชื่ออะไร ทำอะไรได้บ้าง และต้องสั่งงานมันอย่างไร เราจะต้องลงโปรแกรม เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นด้วย ซึ่งโปรแกรมนั้นก็คือ ไดรเวอร์ นั่นเอง ส่วนเรื่องการติดตั้ง Driver ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ หากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นแบบรุ่นเก่า ๆ อาจจะไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า Windows จะจัดการกับ Driver ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยแล้ว หรือที่เรียกกันว่า Plug and Play นั่นเอง แต่ถ้าหากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานเป็นรุ่นใหม่ ก็ต้องมาทำการติดตั้ง Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ เอง เพื่อให้สามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้สมบูรณ์


         เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 เสร็จเเล้ว ยังถือว่าไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะอาจมีอุปกรณ์บางตัวที่ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก ต้องติดตั้งไดร์เวอร์อุปกรณ์ฮาร์ดเเวร์ให้ครบ ซึ่งปกติโปรเเกรมไดร์เวอร์ ทางผู้ผลิตมักบรรจุลงในเเผ่นซีดีหรือดีวีดีที่เเนบมาพร้อมกับชุดบรรจุภัณฑ์

         Device Manager ในระบบปฏิบัติการ Windows เป็นศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่ได้เชื่อมต่ออเข้ากับหน่วยระบบ โดยรายการฮาร์ดเเวร์ทั้งหมดในเครื่อง สามารถได้รับการปนับตั้งค่าผ่านศูนย์กลางเเห่งนี้
       วิธีการเข้าไปยัง Device Manager มีดังนี้

1.คลิกขวาที่ This pc





2.คลิกที่ Device Manager





3. ภายในศูนย์ควบคุมของ Device Manager เต็มไปด้วยอุปกรณ์ฮาร์แวร์ต่างๆ ที่ได้เชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ





         ความละเอียดของจอภาพ ค่าติดตั้งที่เหมาะสมจะต้องสัมพันธ์กับขนาดหน้าจอภาพ รวมถึงขีดความสามารถของไดร์เวอร์จอภาพ

         Screen Saver เป็นการตั้งค่าให้เเสดงภาพเคลื่อนไหวบนหน้าจอภาพ เมื่อไม่มีการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ภายในระยะเวลาที่กำหนด



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. โปรแกรมไดร์เวอร์คืออะไร มีบทบาทสำคัญอย่างไร  จงอธิบาย
ตอบ = ไดร์เวอร์ (Driver) หมายถึงตัวขับอุปกรณ์ จัดเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่ง ซ฿งปกติจะแนบมาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น ไดร์เวอร์เมนบอร์ด ไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์ เป็นต้น หน้าที่หลักๆของไดร์เวอร์คือช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อและจัดการกับอุปกรณ์อินพุตเอ้าท์พุต ได้

2. มานะบอกกับมีนาว่า ฉันติดตั้ง Windows แล้วไม่เห็นจะต้องติดตั้งไดร์เวอร์อะไรให้ยุ่งยากเลยคอมพิวเตอร์ก็ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆได้ตามปกติ หากนักเรียนเป็นมีนา จะอธิบายให้มานะเข้าใจได้อย่างไร
ตอบ = อธิบายให้มานะฟังว่า “ภายหลังจากการติดตั้งวินโดวส์แล้วนั้นยังไม่ถือว่าเสร็จสมบูรณ์ เพราะอาจมีอุปกรณ์บางตัวที่ไม่รู้จัก ทำให้เราใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งโปรแกรมไดร์เวอร์ลงไปเพื่อให้สามารถติดต่อกับอุปกรณ์อินพุต และเอ้าต์พุตได้นั่นเอง”

3. ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ตรงส่วนใดที่ใช้เป็นศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ
ตอบ =  Device Manager เป็นส่วนสำคัญในการจัดการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์

4. การปรับตั้งค่า Refresh Rate บนจอภาพ LCD มีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ = โดยปกติแล้วหลังจากการติดตั้งไดร์เวอร์จอภาพ ระบบปฏิบัติการจะปรับตั้งค่าความละเอียดของจอภาพภายใต้ขีดความสามารถสูงสุดอยู่แล้ว ดังนั้นการปรับตั้งค่าขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่ละคน

5. การตั้ง Screen Saver บนจอภาพ LCD มีส่วนช่วยถนอมจอภาพโดยตรงหรือไม่ อย่างไรจงอธิบาย
ตอบ =  มีส่วนช่วยเพราะ การทำเช่นนี้เป็นการตั้งค่าเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปิดจออัตโนมัติเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้ใช้ และการทำเช่นนี้ เป็นการยืดอายุการใช้งานของจอภาพอีกด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจอภาพแบบ LCD มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50000 ชั่วโมง แต่ทางที่ดีแล้ว การตั้งค่านี้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น